ลักษณะเด่นของ FreeBSD โดยรวมมีดังนี้
- การกำหนดสิทธิของการทำงานหลายงานพร้อมกันซึ่งจะเป็นลักษณะที่มีการปรับตัวเป็นแบบพลวัต มีการจัดแบ่งทรัพยากรของระบบอย่างยุติธรรมระหว่างโปรแกรมประยุกต์และผู้ใช้งาน
- ความสามารถในการทำงานแบบหลายผู้ใช้(multi-user) ซึ่งยอมให้มีการใช้งานระบบจากผู้ใช้ระบบ FreeBSD ได้หลายคนพร้อมกัน ซึ่งสามารถกำหนดจำนวนการใช้งานทรัพยากรระบบของผู้ใช้แต่ละคนได้
- มีระบบเครือข่ายในรูปแบบ TCP/IP ที่ปลอดภัย ซึ่งรองรับการทำงานของมาตรฐานต่างๆ เช่น SLIP(Serial Line IP), PPP(Point to Point Protocol), NFS(Network File System), DHCP(Dynamic Host Configuration Protocol), และ NIS(Network Information Services) เป็นต้น ซึ่งหมายความว่าใช้งาน FreeBSD ในลักษณะที่เป็นเซฟเวอร์ เช่น เมล์ลเซิฟเวอร์(mail server), เว็ปเซิฟเวอร์(web server), เอฟทีพีเซิฟเวอร์(ftp server), การทำเร้าติ้ง(routing)และไฟล์วอล์ล(fire wall) เป็นต้น
- การป้องกันหน่วยความจำทำให้มั่นใจเรื่องการทำงานที่ผิดพลาดอันเนื่องมาจากการใช้งานหน่วยความจำที่ซ้ำกันของโปรแกรมประยุกต์หรือผู้ใช้ระบบ
- FreeBSD เป็นระบบปฏิบัติการแบบ 32-bit (64-bit สำหรับสถาปัตยกรรม Alpha และ UltraSPARC)
- มีความสามารถในการใช้งานระบบ X Window (X11R6) มีความสามารถในการรันโปรแกรมที่รันบนระบบปฏิบัติการ Linux, SCO, SVR4, BSDI และ NetBSDได้
- มีโปรแกรมประยุกต์มากมายซึ่งสามารถทำการเพิ่มโปรแกรมประยุกต์ เหล่านั้นด้วย ระบบพอร์ตและเพคเกจ
- สามารถทำการเพิ่มโปรแกรมประยุกต์ได้ง่ายโดยผ่านทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต FreeBSD เป็นซอสโค๊ดที่มีความเข้ากันได้กับระบบยูนิกทางการค้าและหากโปรแกรมประยุกต์ต้องการการเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็สามารถทำได้โดยเปลี่ยนแปลงและคอมไพใหม่
- ความต้องการของหน่วยความจำเหมือน หน่วยความจำแบบแคช และหน่วยความจำบัฟเฟอร์ ถูกออกแบบให้มีประสิทธิภาพสูง ทำให้เพียงพอต่อความต้องการของโปรแกรมประยุกต์แต่ละโปรแกรม และความต้องผู้ใช้งานแต่ละคน
- รองรับการประมวลผลแบบหลายหน่วยประมวล แบบ Symmetric multi-processor (SMP)
- รองรับการทำงานกับตัวแปรภาษาพื้นฐานคือ C, C++, Fortran, และ Perl นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งตัวแปรภาษาเพิ่มเติมได้โดยการติดตั้งจากพอร์ตและเพคเกจ
- เนื่องจาก FreeBSD เป็นระบบการพัฒนาระบบเปิด จึงมีซอสโค๊ดของระบบซึ่งทำให้สามารถปรับปรุงและแก้ไขการทำงานของระบบให้มีความถูกต้องเชื่อถือได้
- มีเอกสารคู่มือการใช้งานแบบออนไลน์
- และอื่นๆ อีกมากมาย!
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
0 comments
Post a Comment